วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้บริการรถไฟฟ้า

ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

รถไฟฟ้าบีทีเอสนำระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่รวดเร็วแก่ผู้โดยสาร โดยปัจจุบันได้แบ่งชนิดและประเภทของตั๋วโดยสารตามความเหมาะสมในการใช้งานได้ดังนี้




1. ตั๋วโดยสาร และบัตรโดยสารชนิดแถบแม่เหล็ก 
2. บัตรโดยสารชนิดสมาร์ทพาส
3. บัตรแรบบิท 

ข้อแนะนำขณะอยู่บนชานชาลา และโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส

เมื่ออยู่บนสถานี
ข้อปฏิบัติ
โปรดอ่าน หรือฟังประกาศ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
โปรดรักษาความสะอาด และทิ้งขยะลงในถังที่จัดเตรียมไว้
เมื่อรู้สึกไม่สบายหรือต้องการความช่วยเหลือ กรุณาติดต่อพนักงาน
เมื่อทำทรัพย์สินสูญหาย หรือพบ หรือเก็บได้ โปรดแจ้งพนักงาน
เมื่อพบเห็นการกระทำของบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจหรือวัตถุต้องสงสัย โปรดแจ้งพนักงานทันที


ข้อห้าม
ห้ามสูบบุหรี่ และนำวัตถุไวไฟ หรือวัตถุอันตรายเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามนำสัตว์ทุกประเภทเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามทิ้งสิ่งของออกนอกสถานี
ห้ามนำสัมภาระขนาดใหญ่ หรือสัมภาระที่มีน้ำหนักมากเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามขีดเขียน หรือทำความเสียหายแก่อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามสวมรองเท้าสเก็ต หรือรองเท้าที่มีล้อ และห้ามเล่นสเก็ตบอร์ด หรือขี่จักรยานในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามส่งเสียงดัง หรือแสดงพฤติกรรมที่ก่อความรำคาญ หรือก่อความไม่สะดวกในการใช้บริการของผู้โดยสารท่านอื่น


เมื่ออยู่บนชานชาลา
ข้อปฏิบัติ
โปรดยืนเข้าแถวรอขบวนรถ และวางสัมภาระหลังเส้นเหลือง
ควรดูแลเด็กเล็กขณะยืนรอ และเข้า - ออกขบวนรถ
โปรดหลีกทางให้ผู้โดยสารในขบวนรถออกก่อน
ระวังช่องว่างระหว่างพื้นชานชาลากับขบวนรถ
เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณปิดประตู ควรหยุดเพื่อรอรถไฟฟ้าขบวนถัดไป
เมื่อสิ่งของตกลงราง โปรดแจ้งพนักงานทันที
ข้อห้าม
ห้ามวิ่ง เล่น ผลัก หรือหยอกล้อกันบริเวณชานชาลา
ห้ามลงรางโดยเด็ดขาด เพราะจะได้รับอันตรายจากขบวนรถและไฟฟ้าแรงสูง
ห้ามเข้าไปในเขตหวงห้ามบริเวณปลายชานชาลา

ขณะโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส
ข้อปฏิบัติ
ควรจับห่วง เสา หรือราวขณะเดินทาง
โปรดเอื้อเฟื้อที่นั่งแก่เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
โปรดคืนที่นั่งสำรองแด่ภิกษุ สามเณร
โปรดดูแลสัมภาระและสิ่งของมีค่าขณะเดินทางในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน กรุณาแจ้งพนักงานควบคุมรถไฟฟ้าทันที
กรุณาใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุจำเป็น
ข้อห้าม
ห้ามยืนพิงประตู หรือเสา หรือยืนกีดขวางบริเวณประตูรถไฟฟ้า
ห้ามยึด หรือจับบริเวณยางที่เป็นรอยต่อระหว่างขบวนรถไฟฟ้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้
ห้ามวางมือบริเวณประตูรถไฟฟ้า
ห้ามวางสัมภาระกีดขวางทางเดินในขบวนรถ
ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส

ด้านความปลอดภัยในกระบวนรถ


ห้องโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอสได้รับการออกแบบไม่ให้มีส่วนแหลมคม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้โดยสาร และใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ และยากต่อการลุกลามเมื่อเกิดเพลิงไหม้
ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในขบวนรถ เช่น เพลิงไหม้ ผู้โดยสารเจ็บป่วยกระทันหัน หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ผู้โดยสารสามารถติดต่อเพื่อแจ้งเหตุแก่พนักงานควบคุมรถไฟฟ้าโดยกดปุ่มรูปกระดิ่งสีเหลือง ที่ติดตั้งไว้บริเวณประตูรถไฟฟ้า
ด้านความปลอดภัยบนสถานี
โครงสร้างของสถานีได้รับการออกแบบและก่อสร้างภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารและมาตรฐาน NFPA 130 ว่าด้วยการขนส่งมวลชนระบบราง และได้ติดตั้งระบบป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้ภายใต้มาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ได้แก่ ถังดับเพลิง สายฉีดน้ำดับเพลิง และระบบฉีดน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ครอบคลุมพื้นที่ของสถานี รวมทั้ง ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบสายล่อฟ้าภายใต้มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (สสวท) และได้ติดตั้งปุ่มหยุดรถไฟฟ้าฉุกเฉิน (กล่องสีเหลือง) เพื่อใช้หยุดการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้า ไม่ให้เข้าหรือออกจากสถานีในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีผู้โดยสารพลัดตกลงราง








ข้อแนะนำในการใช้ประตูอัตโนมัติ
โครงสร้างของประตูอัตโนมัติประกอบด้วย
1. สัญญาณตรวจจับ (SENSORS) ก่อนบานประตู 2 จุด
2. สัญญาณตรวจจับ (SENSORS) หลังบานประตู 2 จุด
3. เครื่องอ่านบัตรโดยสาร
4. บานประตูอัตโนมัติ (Barrier)
5. ช่องสอดตั๋ว
การทำงานของสัญญาณตรวจจับก่อนและหลังบานประตู
ประตูอัตโนมัติมีสัญญาณตรวจจับ (Sensors) จำนวน 4 จุด เพื่อทำหน้าที่สั่งการให้บานประตูปิดลงเมื่อมีวัตถุผ่านสัญญาณตรวจจับ (Sensors) จุดที่ 2 และ3



กรณีที่บานประตูอัตโนมัติปิดลงก่อนที่ผู้โดยสารจะเดินผ่าน เกิดจากสัมภาระของผู้โดยสารไปบังสัญญาณตรวจจับ (Sensors) จุดที่3 ทำให้สัญญาณตรวจจับ (Sensors) จุดที่ 3 รับรู้ว่าผู้โดยสารเดินผ่านบานประตูอัตโนมัติไปแล้ว ทำให้บานประตูจึงปิดลง

ข้อแนะนำเมื่อเกิดเพลิงไหม้ หรือเหตุฉุกเฉิน

กรณีเกิดเหตุบนขบวนรถไฟ
ให้ผู้โดยสารแจ้งเหตุฉุกเฉินแก่พนักงานควบคุมรถไฟฟ้าทันที โดยการกดปุ่มรูปกระดิ่งสีเหลือง  บริเวณด้านข้างของประตูแล้วปล่อย และรอการตอบรับจากพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจนต้องเปิดประตูรถไฟฟ้า ให้ดึงคันโยกสีแดงบริเวณด้านข้างของประตูแล้วเลื่อน เพื่อเปิดประตู ใช้ในกรณีขบวนรถไฟฟ้าจอดอยู่ที่สถานีเท่านั้น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า
ประตูฉุกเฉินสำหรับอพยพ อยู่บริเวณส่วนหัวและส่วนท้ายของขบวนรถไฟฟ้า ผู้โดยสารสามารถเดินออกจากขบวนรถได้ด้วยสะพานเชื่อม และปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานอย่างเคร่งครัด
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจนต้องเปิดหน้าต่างในขบวนรถไฟฟ้า ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ติดไว้
เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้โดยสารสามารถนำถังดับเพลิงที่เก็บไว้ในช่องเก็บที่มีสัญลักษณ์  มาใช้ และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างถัง
อุปกรณ์ฉุกเฉินใช้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น และผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนอุปกรณ์ฉุกเฉิน บริษัทมีสิทธิดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฯ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โปรดอยู่ในความสงบและปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานโดยเคร่งครัด

กรณีเกิดเหตุบนสถานี





เมื่อพบเห็นเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสารหรือชั้นชานชาลา ให้กดปุ่มสัญญาณเตือนเหตุเพลิงไหม้ (กล่องสีแดง) ที่ใกล้ที่สุด และรีบแจ้งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
เมื่อพบเห็นวัตถุต้องสงสัย ให้รีบแจ้งเหตุแก่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
เมื่อพบเห็นผู้โดยสารตกลงราง ให้กดปุ่มหยุดรถไฟฟ้าฉุกเฉิน (กล่องสีเหลือง) ที่ติดตั้งอยู่บริเวณเสาบนชั้นชานชาลาและแจ้งพนักงานทันที
ทางสถานีได้จัดเตรียมห้องปฐมพยาบาล พร้อมด้วยอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาทิ เวชภัณฑ์ เปล และเตียงนอน ไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
ทางสถานีได้จัดเตรียมป้ายทางออกฉุกเฉินไว้สำหรับอพยพผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน
อุปกรณ์ฉุกเฉินใช้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น และผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนอุปกรณ์ฉุกเฉิน บริษัทมีสิทธิดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฯ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โปรดอยู่ในความสงบและปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานโดยเคร่งครัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น