จากนั้นมาคำว่า "จราจร" ก็ได้เริ่มแพร่กระจายออกไปถึง ประชาชน การจราจรนั้นหมายถึง คน สัตว์ และยวดยานที่สัญจรไปมาถนนหลวง โดยเคลื่อนด้วยแรงคนหรือเครื่องจักร หรือ ลากจูงไปด้วยสัตว์พาหนะ แต่การ จราจรในประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 แล้ว ขณะนั้นมีรถยนต์ไม่เกิน 1,000 คัน มีถนนที่รถเดินได้สะดวกเพียงไม่กี่สาย และเมื่อถึงราว พ.ศ.2502 เป็นต้นมา การ จราจรในเมืองหลวงก็เริ่มเติบโตขึ้น เพราะมีรถชนิดต่าง ๆ มากมายหลายหมื่นคัน จนเกิดเป็นปัญหาต่อมา
กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร
กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ได้แก่ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมเส้นทางของผู้ขับขี่รถยนต์ คนเดินเท้า และคนขี่รถจักรยาน ให้ปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรที่นักเรียนควรรู้ ได้แก่


1. กฎจราจร ที่ควรรู้มี ดังนี้
1) สัญญาณจราจร คือ สัญญาณที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจราจรใช้สัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้ควบคุมยานพาหนะ มีหลายลักษณะ ได้แก่
(1) สัญญาณธง เรามักจะเห็นใช้สัญญาณนี้ตามหน้าโรงเรียนให้เด็กนักเรียนข้ามถนน
(2) สัญญาณมือ เรามักจะเห็นตำรวจจราจรใช้สัญญาณมือในการควบคุมการจราจรเป็นส่วนใหญ่
(3) สัญญาณนกหวีด เรามักจะเห็นตำรวจจราจรใช้สัญญาณนกหวีดควบคู่กับสัญญาณมือโดยเป่ายาว 1 ครั้ง ให้รถหยุด แต่ถ้าเป่าสั้นๆ หลายครั้งให้รถวิ่งต่อไปได้
(4) สัญญาณไฟ เรามักจะเห็นตามทางแยกต่าง ๆ และมีใช้เหมือนกันทุกประเทศในโลก มีใช้สีประกอบ 3 สีคือ
-ไฟสีแดง หมายถึงให้ผู้ขับขี่หยุดยานพาหนะหลังเส้นให้หยุด
-ไฟสีเหลือง หมายถึง ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดยานพาหนะหลังเส้นให้หยุด
- ไฟเขียว หมายถึง ให้ผู้ขับขี่ขับยานพาหนะผ่านไปได้
2) เครื่องหมายจราจร เป็นป้ายสัญลักษณ์ที่ติดไว้เพื่อให้ผู้ควบคุมยานพาหนะได้ทราบกฎจราจรสำหรับสถานที่นั้นๆ แยกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
(1) เครื่องหมายจราจรประเภทบังคับ เป็นเครื่องหมายจราจรที่ผู้ควบคุมยานพาหนะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น ป้ายจำกัดความเร็ว




ให้เลี้ยวซ้าย ห้ามเลี้ยวขวา ห้ามแซง ห้ามตรงไป
(2) เครื่องหมายจราจรประเภทเตือน เป็นเครื่องหมายจราจรที่เตือนให้ผู้ควบคุมยานพาหนะให้ระมัดระวัง เช่น ระวังทางโค้ง โค้งอันตราย ทางลื่น ทางชัน ระวังคนข้ามถนน โรงเรียน เป็นต้น




ทางตัดกัน ทางแคบด้านขวา จุดกลับรถ เตือนรถกระโดด
2. กฎจราจรสำหรับคนเดินเท้า
1) ให้เดินบนทางเท้า หรือถ้าจำเป็นต้องเดินบนถนนหรือไหล่ทาง ให้เดินด้านขวาของเส้นทางจราจร
2) ให้ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอยคนข้ามหรือทางม้าลายเท่านั้น หากทางม้าลายใดมีสัญญาณไฟคนข้ามถนนให้ดูสัญญาณไฟสีแดงห้ามข้ามส่วนไฟสีเขียวข้ามได้ แต่ถ้าทางม้าลายตามทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจรสำหรับยานพาหนะให้ดูสัญญาณไฟสีแดงข้ามได้แต่ถ้าไฟสีเขียวห้ามข้าม
3) ห้ามข้ามถนนนอกสะพานลอยคนข้ามหรือทางม้าลายนับจากสะพานลอยคนข้ามหรือทางม้าลายในระยะ 100 เมตร
3. กฎจราจรสำหรับผู้ขับขี่จักรยาน
1) ผู้ขับขี่จักรยานต้องขี่รถชิดขอบทางด้านซ้ายของเส้นทางปกติหรือขับขี่บนเส้นทางสำหรับรถจักรยาน
2) รถจักรยานต้องมีสภาพพร้อมใช้งานคือมีกระดิ่งสัญญาณที่เสียงดังได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร มีเครื่องห้ามล้อที่สามารถใช้งานได้ มีไฟสีขาวหน้ารถ และไฟสีแดงบริเวณท้ายรถ
3) ไม่บรรทุกหรือถือสิ่งของที่จะทำให้เป็นอุปสรรคในการบังคับรถหรือขับขี่ด้วยความประมาทเป็นที่น่าหวาดเสียว
4) ไม่นั่งขับขี่บนที่ไม่ใช่ที่นั่งหรือไม่ขับขี่ขนานกันไป 2 คัน ยกเว้นในทางจักรยานใหญ่ ๆหรือห้ามเกาะหรือพ่วงรถอื่นที่แล่นอยู่
5) จอดจักรยานในที่จอดรถจักรยานที่ทางราชการจัดให้มีไว้

4. ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน
1) ผู้ขับขี่ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
2) ผู้ขับขี่ควรใช้รถที่มีสภาพดีทั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช้รถที่ไม่ปลอดภัย หรือไม่มั่งคงแข็งแรง หรือมีเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน หรือละอองเคมี อันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ของผู้ใช้รถใช้ถนนอื่น
3) ผู้ขับขี่และผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัย หรือสวมหมวกกันน็อกและเปิดไฟหน้ารถสำหรับรถจักรยานยนต์ทุกครั้งที่ทำการขับขี่
4) ผู้ขับขี่ควรขับด้วยความเร็ว ใช้สัญญาณไฟ และปฏิบัติตามป้ายเครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด และไม่แซงในที่คบขัน
5) ผู้ขับขี่รถบรรทุกควรบรรทุกน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด และหากจำเป็นต้องบรรทุกสิ่งของที่มีความยาวเกินกว่าตัวรถ ต้องติดสัญญาณธงสีแดงในเวลากลางวันและต้องติดสัญญาณไฟสีแดงในเวลากลางคืน โดยสัญญาณธงหรือสัญญาณไฟสีแดงนั้นต้องสามารถมองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร
6) ผู้ขับขี่ต้องไม่ขับรถในขณะมึนเมาหรือง่วง
7) ผู้ขับขี่รถทุกชนิดต้องไม่ใช้สัญญาณไฟกระพริบ สัญญาณเสียงไซเรน สัญญาณนกหวีด ยกเว้น รถฉุกเฉิน หรือรถที่ทางราชการอนุญาตให้ใช้
8) การขึ้นลงรถประจำทางควรรอจนรถหยุดนิ่งที่ป้ายหยุดรถประจำทางเท่านั้น ไม่ควรกระโดดขึ้นรถขณะที่รถกำลังจะเคลื่อนตัวออกหรือหยุด หรือขณะประตูกำลังจะปิด
