วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การจราจร

        คำว่า "จราจร"(Traffic) เริ่มใช้ในครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2474 โดยกรมตำรวจได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก ต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้ออกเป็นกฎหมายใช้บังคับประชาชน โดยที่ขณะนั้นรถจำพวกต่าง ๆ ได้ เริ่มเพิ่มมากขึ้น เช่น รถแท็กซี่ขนาดเล็ก และยังมีการสร้างสะพานพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างจังหวัดพระนคร-ธนบุรี ทำให้พื้นที่เพื่อการจราจรกว้างขวางขึ้นมีผู้ นิยมใช้รถมากกว่าเดิม พ.ต.อ.ซี. บี. ฟอลเล็ต เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ.จราจรทางบกขึ้น โดยอาศัยหลักกฎหมายจราจรของประเทศอังกฤษ มาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพของ ประเทศไทยและได้ผ่านการพิจารณาจาก สภาผู้แทนราษฎรให้ใช้เป็นกฎหมาย ได้เมื่อ พ.ศ.2477
        จากนั้นมาคำว่า "จราจร" ก็ได้เริ่มแพร่กระจายออกไปถึง ประชาชน การจราจรนั้นหมายถึง คน สัตว์ และยวดยานที่สัญจรไปมาถนนหลวง โดยเคลื่อนด้วยแรงคนหรือเครื่องจักร หรือ ลากจูงไปด้วยสัตว์พาหนะ แต่การ จราจรในประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 แล้ว ขณะนั้นมีรถยนต์ไม่เกิน 1,000 คัน มีถนนที่รถเดินได้สะดวกเพียงไม่กี่สาย และเมื่อถึงราว พ.ศ.2502 เป็นต้นมา การ จราจรในเมืองหลวงก็เริ่มเติบโตขึ้น เพราะมีรถชนิดต่าง ๆ มากมายหลายหมื่นคัน จนเกิดเป็นปัญหาต่อมา

กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร

            กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร  ได้แก่  พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมเส้นทางของผู้ขับขี่รถยนต์ คนเดินเท้า และคนขี่รถจักรยาน ให้ปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรที่นักเรียนควรรู้ ได้แก่
       

            1. กฎจราจร  ที่ควรรู้มี  ดังนี้
                1)   สัญญาณจราจร  คือ สัญญาณที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจราจรใช้สัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้ควบคุมยานพาหนะ มีหลายลักษณะ  ได้แก่   
                    (1) สัญญาณธง   เรามักจะเห็นใช้สัญญาณนี้ตามหน้าโรงเรียนให้เด็กนักเรียนข้ามถนน
                    (2)  สัญญาณมือ  เรามักจะเห็นตำรวจจราจรใช้สัญญาณมือในการควบคุมการจราจรเป็นส่วนใหญ่
                    (3)  สัญญาณนกหวีด  เรามักจะเห็นตำรวจจราจรใช้สัญญาณนกหวีดควบคู่กับสัญญาณมือโดยเป่ายาว  1  ครั้ง ให้รถหยุด แต่ถ้าเป่าสั้นๆ หลายครั้งให้รถวิ่งต่อไปได้
                    (4)  สัญญาณไฟ   เรามักจะเห็นตามทางแยกต่าง ๆ  และมีใช้เหมือนกันทุกประเทศในโลก  มีใช้สีประกอบ  3  สีคือ
                        -ไฟสีแดง  หมายถึงให้ผู้ขับขี่หยุดยานพาหนะหลังเส้นให้หยุด
                        -ไฟสีเหลือง  หมายถึง  ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดยานพาหนะหลังเส้นให้หยุด
                        - ไฟเขียว  หมายถึง  ให้ผู้ขับขี่ขับยานพาหนะผ่านไปได้
                2) เครื่องหมายจราจร  เป็นป้ายสัญลักษณ์ที่ติดไว้เพื่อให้ผู้ควบคุมยานพาหนะได้ทราบกฎจราจรสำหรับสถานที่นั้นๆ  แยกได้ 2 ลักษณะ  ได้แก่
                    (1)  เครื่องหมายจราจรประเภทบังคับ  เป็นเครื่องหมายจราจรที่ผู้ควบคุมยานพาหนะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  หากฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้  เช่น  ป้ายจำกัดความเร็ว

                                                              

     ให้เลี้ยวซ้าย               ห้ามเลี้ยวขวา                  ห้ามแซง                    ห้ามตรงไป

                    (2)  เครื่องหมายจราจรประเภทเตือน  เป็นเครื่องหมายจราจรที่เตือนให้ผู้ควบคุมยานพาหนะให้ระมัดระวัง เช่น  ระวังทางโค้ง    โค้งอันตราย   ทางลื่น  ทางชัน   ระวังคนข้ามถนน   โรงเรียน  เป็นต้น

                                                       
 ทางตัดกัน          ทางแคบด้านขวา             จุดกลับรถ                เตือนรถกระโดด
  
            2. กฎจราจรสำหรับคนเดินเท้า
                1)   ให้เดินบนทางเท้า  หรือถ้าจำเป็นต้องเดินบนถนนหรือไหล่ทาง  ให้เดินด้านขวาของเส้นทางจราจร
                2)   ให้ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอยคนข้ามหรือทางม้าลายเท่านั้น  หากทางม้าลายใดมีสัญญาณไฟคนข้ามถนนให้ดูสัญญาณไฟสีแดงห้ามข้ามส่วนไฟสีเขียวข้ามได้  แต่ถ้าทางม้าลายตามทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจรสำหรับยานพาหนะให้ดูสัญญาณไฟสีแดงข้ามได้แต่ถ้าไฟสีเขียวห้ามข้าม
                3)   ห้ามข้ามถนนนอกสะพานลอยคนข้ามหรือทางม้าลายนับจากสะพานลอยคนข้ามหรือทางม้าลายในระยะ 100  เมตร

            3. กฎจราจรสำหรับผู้ขับขี่จักรยาน
                1)  ผู้ขับขี่จักรยานต้องขี่รถชิดขอบทางด้านซ้ายของเส้นทางปกติหรือขับขี่บนเส้นทางสำหรับรถจักรยาน
                2)   รถจักรยานต้องมีสภาพพร้อมใช้งานคือมีกระดิ่งสัญญาณที่เสียงดังได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 30  เมตร  มีเครื่องห้ามล้อที่สามารถใช้งานได้  มีไฟสีขาวหน้ารถ  และไฟสีแดงบริเวณท้ายรถ
                3)  ไม่บรรทุกหรือถือสิ่งของที่จะทำให้เป็นอุปสรรคในการบังคับรถหรือขับขี่ด้วยความประมาทเป็นที่น่าหวาดเสียว
                4)  ไม่นั่งขับขี่บนที่ไม่ใช่ที่นั่งหรือไม่ขับขี่ขนานกันไป 2  คัน ยกเว้นในทางจักรยานใหญ่ ๆหรือห้ามเกาะหรือพ่วงรถอื่นที่แล่นอยู่
                5)  จอดจักรยานในที่จอดรถจักรยานที่ทางราชการจัดให้มีไว้

       

            4. ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน
                1)    ผู้ขับขี่ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
                2)   ผู้ขับขี่ควรใช้รถที่มีสภาพดีทั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด   ไม่ใช้รถที่ไม่ปลอดภัย   หรือไม่มั่งคงแข็งแรง   หรือมีเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด   หรือก่อให้เกิดก๊าซ  ฝุ่น  ควัน หรือละอองเคมี  อันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย  ของผู้ใช้รถใช้ถนนอื่น
                3)   ผู้ขับขี่และผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัย  หรือสวมหมวกกันน็อกและเปิดไฟหน้ารถสำหรับรถจักรยานยนต์ทุกครั้งที่ทำการขับขี่
                4)   ผู้ขับขี่ควรขับด้วยความเร็ว  ใช้สัญญาณไฟ  และปฏิบัติตามป้ายเครื่องหมายจราจรและสัญญาณจราจรตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด  และไม่แซงในที่คบขัน
                5)  ผู้ขับขี่รถบรรทุกควรบรรทุกน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด  และหากจำเป็นต้องบรรทุกสิ่งของที่มีความยาวเกินกว่าตัวรถ  ต้องติดสัญญาณธงสีแดงในเวลากลางวันและต้องติดสัญญาณไฟสีแดงในเวลากลางคืน  โดยสัญญาณธงหรือสัญญาณไฟสีแดงนั้นต้องสามารถมองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร

                6)   ผู้ขับขี่ต้องไม่ขับรถในขณะมึนเมาหรือง่วง
                7)   ผู้ขับขี่รถทุกชนิดต้องไม่ใช้สัญญาณไฟกระพริบ  สัญญาณเสียงไซเรน   สัญญาณนกหวีด  ยกเว้น  รถฉุกเฉิน  หรือรถที่ทางราชการอนุญาตให้ใช้
                8)  การขึ้นลงรถประจำทางควรรอจนรถหยุดนิ่งที่ป้ายหยุดรถประจำทางเท่านั้น  ไม่ควรกระโดดขึ้นรถขณะที่รถกำลังจะเคลื่อนตัวออกหรือหยุด หรือขณะประตูกำลังจะปิด
  

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้บริการรถไฟฟ้า

ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

รถไฟฟ้าบีทีเอสนำระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่รวดเร็วแก่ผู้โดยสาร โดยปัจจุบันได้แบ่งชนิดและประเภทของตั๋วโดยสารตามความเหมาะสมในการใช้งานได้ดังนี้




1. ตั๋วโดยสาร และบัตรโดยสารชนิดแถบแม่เหล็ก 
2. บัตรโดยสารชนิดสมาร์ทพาส
3. บัตรแรบบิท 

ข้อแนะนำขณะอยู่บนชานชาลา และโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส

เมื่ออยู่บนสถานี
ข้อปฏิบัติ
โปรดอ่าน หรือฟังประกาศ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
โปรดรักษาความสะอาด และทิ้งขยะลงในถังที่จัดเตรียมไว้
เมื่อรู้สึกไม่สบายหรือต้องการความช่วยเหลือ กรุณาติดต่อพนักงาน
เมื่อทำทรัพย์สินสูญหาย หรือพบ หรือเก็บได้ โปรดแจ้งพนักงาน
เมื่อพบเห็นการกระทำของบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจหรือวัตถุต้องสงสัย โปรดแจ้งพนักงานทันที


ข้อห้าม
ห้ามสูบบุหรี่ และนำวัตถุไวไฟ หรือวัตถุอันตรายเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามนำสัตว์ทุกประเภทเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามทิ้งสิ่งของออกนอกสถานี
ห้ามนำสัมภาระขนาดใหญ่ หรือสัมภาระที่มีน้ำหนักมากเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามขีดเขียน หรือทำความเสียหายแก่อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามสวมรองเท้าสเก็ต หรือรองเท้าที่มีล้อ และห้ามเล่นสเก็ตบอร์ด หรือขี่จักรยานในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ห้ามส่งเสียงดัง หรือแสดงพฤติกรรมที่ก่อความรำคาญ หรือก่อความไม่สะดวกในการใช้บริการของผู้โดยสารท่านอื่น


เมื่ออยู่บนชานชาลา
ข้อปฏิบัติ
โปรดยืนเข้าแถวรอขบวนรถ และวางสัมภาระหลังเส้นเหลือง
ควรดูแลเด็กเล็กขณะยืนรอ และเข้า - ออกขบวนรถ
โปรดหลีกทางให้ผู้โดยสารในขบวนรถออกก่อน
ระวังช่องว่างระหว่างพื้นชานชาลากับขบวนรถ
เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณปิดประตู ควรหยุดเพื่อรอรถไฟฟ้าขบวนถัดไป
เมื่อสิ่งของตกลงราง โปรดแจ้งพนักงานทันที
ข้อห้าม
ห้ามวิ่ง เล่น ผลัก หรือหยอกล้อกันบริเวณชานชาลา
ห้ามลงรางโดยเด็ดขาด เพราะจะได้รับอันตรายจากขบวนรถและไฟฟ้าแรงสูง
ห้ามเข้าไปในเขตหวงห้ามบริเวณปลายชานชาลา

ขณะโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส
ข้อปฏิบัติ
ควรจับห่วง เสา หรือราวขณะเดินทาง
โปรดเอื้อเฟื้อที่นั่งแก่เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
โปรดคืนที่นั่งสำรองแด่ภิกษุ สามเณร
โปรดดูแลสัมภาระและสิ่งของมีค่าขณะเดินทางในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน กรุณาแจ้งพนักงานควบคุมรถไฟฟ้าทันที
กรุณาใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุจำเป็น
ข้อห้าม
ห้ามยืนพิงประตู หรือเสา หรือยืนกีดขวางบริเวณประตูรถไฟฟ้า
ห้ามยึด หรือจับบริเวณยางที่เป็นรอยต่อระหว่างขบวนรถไฟฟ้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้
ห้ามวางมือบริเวณประตูรถไฟฟ้า
ห้ามวางสัมภาระกีดขวางทางเดินในขบวนรถ
ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส

ด้านความปลอดภัยในกระบวนรถ


ห้องโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอสได้รับการออกแบบไม่ให้มีส่วนแหลมคม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้โดยสาร และใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ และยากต่อการลุกลามเมื่อเกิดเพลิงไหม้
ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในขบวนรถ เช่น เพลิงไหม้ ผู้โดยสารเจ็บป่วยกระทันหัน หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ผู้โดยสารสามารถติดต่อเพื่อแจ้งเหตุแก่พนักงานควบคุมรถไฟฟ้าโดยกดปุ่มรูปกระดิ่งสีเหลือง ที่ติดตั้งไว้บริเวณประตูรถไฟฟ้า
ด้านความปลอดภัยบนสถานี
โครงสร้างของสถานีได้รับการออกแบบและก่อสร้างภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารและมาตรฐาน NFPA 130 ว่าด้วยการขนส่งมวลชนระบบราง และได้ติดตั้งระบบป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้ภายใต้มาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ได้แก่ ถังดับเพลิง สายฉีดน้ำดับเพลิง และระบบฉีดน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ครอบคลุมพื้นที่ของสถานี รวมทั้ง ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบสายล่อฟ้าภายใต้มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (สสวท) และได้ติดตั้งปุ่มหยุดรถไฟฟ้าฉุกเฉิน (กล่องสีเหลือง) เพื่อใช้หยุดการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้า ไม่ให้เข้าหรือออกจากสถานีในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีผู้โดยสารพลัดตกลงราง








ข้อแนะนำในการใช้ประตูอัตโนมัติ
โครงสร้างของประตูอัตโนมัติประกอบด้วย
1. สัญญาณตรวจจับ (SENSORS) ก่อนบานประตู 2 จุด
2. สัญญาณตรวจจับ (SENSORS) หลังบานประตู 2 จุด
3. เครื่องอ่านบัตรโดยสาร
4. บานประตูอัตโนมัติ (Barrier)
5. ช่องสอดตั๋ว
การทำงานของสัญญาณตรวจจับก่อนและหลังบานประตู
ประตูอัตโนมัติมีสัญญาณตรวจจับ (Sensors) จำนวน 4 จุด เพื่อทำหน้าที่สั่งการให้บานประตูปิดลงเมื่อมีวัตถุผ่านสัญญาณตรวจจับ (Sensors) จุดที่ 2 และ3



กรณีที่บานประตูอัตโนมัติปิดลงก่อนที่ผู้โดยสารจะเดินผ่าน เกิดจากสัมภาระของผู้โดยสารไปบังสัญญาณตรวจจับ (Sensors) จุดที่3 ทำให้สัญญาณตรวจจับ (Sensors) จุดที่ 3 รับรู้ว่าผู้โดยสารเดินผ่านบานประตูอัตโนมัติไปแล้ว ทำให้บานประตูจึงปิดลง

ข้อแนะนำเมื่อเกิดเพลิงไหม้ หรือเหตุฉุกเฉิน

กรณีเกิดเหตุบนขบวนรถไฟ
ให้ผู้โดยสารแจ้งเหตุฉุกเฉินแก่พนักงานควบคุมรถไฟฟ้าทันที โดยการกดปุ่มรูปกระดิ่งสีเหลือง  บริเวณด้านข้างของประตูแล้วปล่อย และรอการตอบรับจากพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจนต้องเปิดประตูรถไฟฟ้า ให้ดึงคันโยกสีแดงบริเวณด้านข้างของประตูแล้วเลื่อน เพื่อเปิดประตู ใช้ในกรณีขบวนรถไฟฟ้าจอดอยู่ที่สถานีเท่านั้น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า
ประตูฉุกเฉินสำหรับอพยพ อยู่บริเวณส่วนหัวและส่วนท้ายของขบวนรถไฟฟ้า ผู้โดยสารสามารถเดินออกจากขบวนรถได้ด้วยสะพานเชื่อม และปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานอย่างเคร่งครัด
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจนต้องเปิดหน้าต่างในขบวนรถไฟฟ้า ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ติดไว้
เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้โดยสารสามารถนำถังดับเพลิงที่เก็บไว้ในช่องเก็บที่มีสัญลักษณ์  มาใช้ และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างถัง
อุปกรณ์ฉุกเฉินใช้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น และผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนอุปกรณ์ฉุกเฉิน บริษัทมีสิทธิดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฯ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โปรดอยู่ในความสงบและปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานโดยเคร่งครัด

กรณีเกิดเหตุบนสถานี





เมื่อพบเห็นเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสารหรือชั้นชานชาลา ให้กดปุ่มสัญญาณเตือนเหตุเพลิงไหม้ (กล่องสีแดง) ที่ใกล้ที่สุด และรีบแจ้งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
เมื่อพบเห็นวัตถุต้องสงสัย ให้รีบแจ้งเหตุแก่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
เมื่อพบเห็นผู้โดยสารตกลงราง ให้กดปุ่มหยุดรถไฟฟ้าฉุกเฉิน (กล่องสีเหลือง) ที่ติดตั้งอยู่บริเวณเสาบนชั้นชานชาลาและแจ้งพนักงานทันที
ทางสถานีได้จัดเตรียมห้องปฐมพยาบาล พร้อมด้วยอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาทิ เวชภัณฑ์ เปล และเตียงนอน ไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
ทางสถานีได้จัดเตรียมป้ายทางออกฉุกเฉินไว้สำหรับอพยพผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน
อุปกรณ์ฉุกเฉินใช้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น และผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนอุปกรณ์ฉุกเฉิน บริษัทมีสิทธิดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฯ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โปรดอยู่ในความสงบและปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานโดยเคร่งครัด